ชารีฟ ลอนา กับคุณค่าแห่งยุคสมัย ที่ตีความใหม่สู่งานออกแบบ

2021-08-10

สร้างสรรค์พื้นที่ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

ชารีฟ ลอนา กับคุณค่าแห่งยุคสมัย ที่ตีความใหม่สู่งานออกแบบ

 
 
จูน เซคิโน่ กับเทรนด์ RE VITAL ที่ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยี พื้นที่ และคุณภาพชีวิตที่ดี
 
          งานสถาปัตยกรรมจะเดินเคียงคู่กันไปอย่างไร กับคน เทคโนโลยี สุขภาพ และสภาพแวดล้อม มาหาคำตอบผ่านมุมมองของสถาปนิกแถวหน้าของไทย “จูน เซคิโน่” แห่ง Junsekino Architect and Design ซึ่งเชื่อมโยงกับเทรนด์ “RE VITAL” ที่ว่าด้วยเรื่องของการใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน ที่ต้องฝ่าฟันทั้งวิกฤตโรคระบาด อากาศแปรปรวน ปัญหามลภาวะ และสิ่งแวดล้อม จะทำอย่างไรให้ที่อยู่อาศัย คือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้
 
 
นิยาม “Re-desire for Life”
          “Re-desire for Life สำหรับผมคือการเปลี่ยนทัศนคติในการอยู่อาศัย เมื่อเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น เราจะรู้ว่าเราต้องการอะไร อะไรขาด อะไรเกินเราอาจจะต้องการมากกว่านี้ คือน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่ละคนไม่เเหมือนกัน แต่สุดท้ายนี่เทคโนโลยีนี่แหละครับที่มันขับเคลื่อนให้เราอยู่ในจุดที่สมดุล และเราก็ปฏิเสธเทคโนโลยีไม่ได้”
 
 
 
 
เทคโนโลยี สุขภาพ สภาพแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดี
           “ตอนนี้เราเหมือนเจอแจ็กพอต 2 เด้ง คือนอกจากวิกฤตโรคระบาดแล้ว เรายังเจอปัญหาเรื่องของสภาพอากาศด้วย อย่างปัญหาฝุ่นด้วย ซึ่งผมว่าปัญหาเหล่านี้มันไม่หายหรอกครับ ดังนั้นเราจะอยู่กับมันอย่างไรมากกว่า เมื่อก่อนเราไม่ต้องซื้อน้ำดื่ม แต่เดี๋ยวนี้น้ำสะอาดต้องซื้อกิน หรือไม่ก็ต้องอาศัยเครื่องกรองน้ำ อากาศก็ต้องกรอง เพราะคนต้องการอากาศที่ดี คนถึงแห่กันไปซื้อเครื่องฟอกอากาศกันเยอะมาก คนมี Demand เทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะต้องการมีสุขภาพที่ดี”
          “สองส่วนที่ต้องคู่ขนานกันไป คือ ‘เทคโนโลยี’ กับ ‘สภาพแวดล้อม’ โดยคนใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เราอยู่ในสภาพแวดวล้อมที่ดี และเอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ซึ่งชีวิตที่ดีไม่ได้แปลว่าคุณต้องมีบ้านที่แพง แค่มีแสงธรรมชาติ และมีอากาศถ่ายเทก็พอ ดังนั้น ‘คน’ ‘เทคโนโลยี’ และ ‘พื้นที่’ ต้องมีความเป็นกลาง และยืดหยุ่น เพราะสุดท้ายแล้วคนก็ Back to basic ต้องการสิ่งเรียบง่าย คือ น้ำสะอาด อากาศดี และคุณภาพชีวิตที่ดี”
 
 
 
 
วิกฤตโควิด-19 กับการเปลี่ยนแนวคิดด้านที่อยู่อาศัย
          “การระบาดของโควิด - 19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันด้วย ไม่ใช่แค่ตัวเลขเศรษฐกิจ ในฐานะที่เราอยู่ในวงการออกแบบ ที่ทำบ้านเป็นหลักถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ก็พบว่าลูกค้ามี Requirement ที่เปลี่ยนไปชัดเจน เช่น คนที่เคยอยู่คอนโดมิเนียม อยากเปลี่ยนมาอยู่อาศัยแนวราบ หรือเมื่อก่อน ต้องการทำบ้าน เต็มพื้นที่ 100 เปอร์เซ็นต์เลย แต่ตอนนี้ต้องการส่วน Construction ของบ้านแค่ 50% นอกนั้นให้สวน หรือเป็นเรื่องของ Environment สุดท้ายแล้วมนุษย์เราก็ต้องการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี”
 
 
“บ้าน กลายเป็นบังเกอร์ที่ปลอดภัยที่สุด”
           “เมื่อเราต้องอยู่บ้านนานขึ้น ถ้า Environment หรือสภาพแวดล้อมของบ้านไม่เอื้อให้เราอยู่บ้านได้นาน ก็จะผลักให้เรารู้สึกอยากออกนอกบ้าน ไปเที่ยว ไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนอาจทำได้ แต่ตอนนี้ออกไปไหนก็มีแต่ความกลัว บ้านจึงเป็นเหมือนบังเกอร์ หรือเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุด ที่เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในทุกมุมของบ้านได้ ในขณะเดียวกันเราจะทำอย่างไรให้พื้นที่อยู่อาศัยที่จะมีจำกัดขึ้นนั้น มีความ Smart ขึ้น องค์ประกอบของผนัง แทนที่จะเป็นผนังแบบเดิม เราทำผนังให้เป็น Landscape ในบ้านได้มั้ย ซึ่งเราต้องคิดเรื่องนี้เยอะขึ้น เพราะพื้นที่อยู่อาศัยเราจะเล็กลง ทำให้เรามองเห็นอะไรที่มันละเอียดและลึกขึ้น ไม่ใช่แค่ภาพกว้าง ๆ อย่างพื้นที่ 3 ตารางเมตรตรงมุมห้องนี้ทำอะไรได้บ้าง พร้อมยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนการใช้งานได้มั้ย รวมถึงคำนึงถึงเรื่องของธรรมชาติเข้ามาด้วย”
 
 
เทรนด์ของความสมาร์ท ที่มาพร้อมสุขภาพ และความเป็นธรรมชาติ
          “มนุษย์ไม่ได้ต้องการอยู่ในพื้นที่ High Technology ที่เหมือนอาศัยอยู่ในเครื่องจักร คนต้องการความ Smart ที่มีความเป็น Natural ด้วย โดยต้องการบ้านที่นั่งเล่นแล้วได้มองเห็นต้นไม้ สัมผัสกับ Fresh Air หรืออากาศธรรมชาติบ้าง ไม่ใช่ต้องเปิดแอร์ทั้งวันเหมือนห้าง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มนุษย์ต้องการอะไรที่เบสิคแบบนี้แหละครับ”
 
 
Smart Material
          “ปัจจุบันผมเห็นมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Air Ion ซึ่งถูกนำมาผสานกับวัสดุแผ่นกระเบื้อง เพื่อช่วยเรื่องของสุขภาพ และทำให้อากาศดีขึ้น โดยการปล่อยประจุลบออกมาดักจับฝุ่น ในขณะที่ยังได้ Feeling ของสีสันและพื้นผิวหมือนวัสดุธรรมชาติอยู่ ซึ่งเราสามารถใช้แทนกระเบื้องปกติทั่วไปได้เลย ซึ่งผมมองว่าเทรนด์โลกต่อจากนี้จะไปในทิศทางนี้คือ อาศัยเทคโนโลยีช่วยให้เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้”