DIY Health & Clean
เปิดวิธีดูแลห้องน้ำง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
เมื่อพูดถึงการ “ล้างห้องน้ำ” ทีไร หลายๆ คนคงอยาก Say NO! ขอข้ามไปทุกที เพราะห้องน้ำหนึ่งห้องนั้นมีอุปกรณ์ประกอบอยู่ในนั้นมากมาย แต่ละชิ้นก็มีวัสดุที่แตกต่างกัน ไหนจะคราบสกปรกฝังลึกที่ยากจะขัดออก การจะทำดูแลความสะอาดให้เหมือนใหม่จึงกลายเป็นเรื่องยุ่งยากจนอยากร้องยี้!
เอาล่ะ... ก่อนที่จะมีใครร้องไห้เพราะต้องทำความสะอาดห้องน้ำ วันนี้ COTTO ก็มีทริคดีๆ ในการดูแลพื้นที่สำคัญดังกล่าว ที่คุณสามารถ DIY ทำได้ด้วยตัวเอง มาเปิดวิธีการดูแลบรรดาอุปกรณ์ในห้องน้ำอย่างถูกต้อง เพื่อให้ห้องน้ำเป็นพื้นที่ Health & Clean ที่สะอาด ปลอดภัย และดีต่อสุขอนามัยของทุกคนในครอบครัว ทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของสุขภัณฑ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้ยาวนานกันดีกว่า
1. พื้นและผนังห้องน้ำ
พื้นและผนังห้องน้ำ เป็นจุดที่มีคราบสกปรกเกาะติดมากแบบเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่มาจากฟองสบู่ หรือยาสระผมที่เราใช้ชำระล้างร่างกาย จึงมักจะมีคราบไคลของเราติดไปด้วย คราบเหล่านี้เป็นอาหารชั้นดีให้กับเชื้อแบคทีเรีย เมื่อประกอบกับความชื้นภายในห้องน้ำ รวมถึงอุณหภูมิอบอุ่น ก็จะยิ่งทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พื้นและผนังห้องน้ำจึงเป็นจุดใหญ่ที่รวมเชื้อโรคไว้มากที่สุดอีก เราจึงควรทำความสะอาดพื้นและผนังห้องน้ำเป็นประจำ ด้วยวิธีต่อไปนี้
วิธีทำความสะอาดพื้นและผนังห้องน้ำ
พื้นและผนังห้องน้ำควรทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และในทุกๆ วันหลังอาบน้ำเสร็จ ควรเปิดประตูห้องน้ำเพื่อระบายอากาศ ลดความชื้น ก็จะช่วยชะลอการเกิดคราบสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ ได้ หรือเลือกใช้กระเบื้องปูพื้นและผนังที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย ก็จะช่วยให้คุณมั่นใจในความสะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีได้ทุกวัน
กระเบื้อง Hygienic
ให้ทุกย่างก้าวปลอดภัยจากเชื้อแบคทีเรีย
2. สุขภัณฑ์
คุณคิดว่าบริเวณไหนของชักโครกที่พบเชื้อโรคมากที่สุด? หลายคนอาจคิดว่าเป็นโถด้านใน หรืออาจจะเป็นฝารองนั่ง ทั้งสองที่นี้มีเชื้อโรคมากก็จริง แต่มีอีกจุดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักคิดไม่ถึง และละเลยในการทำความสะอาด จนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค นั่นก็คือ “ปุ่มกดชักโครก” ซึ่งจากการศึกษา*พบว่า เจ้าปุ่มกดชักโครกนี้มีเชื้อ S. aureus และเชื้อฟีคัลโคลิฟอร์ม (Faecal coliform bacteria) สุดโหด ถ้าหากเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดอาการถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกเลือดได้เลยล่ะ แต่ไม่ใช่ว่าที่ปุ่มกดจะมีเชื้อโรคที่เดียวนะ เพราะภายในโถชักโครกไปจนถึงฝารองนั่งก็ยังอุดมด้วยเชื้อชนิดเดียวกันนี้ด้วย
นอกจากนี้ การกดชักโครกโดยไม่ปิดฝาครอบก็ยังอันตรายกว่าที่คิด เพราะอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายได้ คราวนี้ถ้าเราไปสัมผัสโดนเชื้อโรค และเผลอนำมือที่สกปรกไปหยิบจับอาหารเข้าปาก ก็อาจเจอโรคท้องร่วงและลำไส้อักเสบมาทักทายได้ เราจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดชักโครกอยู่เสมอ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานในทุกๆ เวลา
วิธีทำความสะอาดสุขภัณฑ์
ก่อนจะลงมือจัดการกับเจ้าเชื้อโรคตัวร้ายที่ชักโครก สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกก็คือ การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดให้เหมาะสมกับวัสดุของชักโครก โดยส่วนใหญ่แล้วตัวชักโครก รวมถึงถังพักน้ำมักทำมาจากเซรามิก ในขณะที่ฝารองนั่งมักทำมาจากพลาสติก ซึ่งมีวิธีการทำความสะอาดดังนี้
โถสุขภัณฑ์
ฝารองนั่งและฝาปิด
ปุ่มกดสุขภัณฑ์
ชักโครกเป็นสิ่งที่ตัวเราต้องสัมผัสอยู่ทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรทำความสะอาดอาทิตย์ละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และถ้าอยากลดความเสี่ยงจากการสัมผัสปุ่มกดน้ำ อาจเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่มีระบบ Touchless โดยการสั่งงานผ่านระบบ ไร้สัมผัสก็ได้ และหากชักโครกด้านในมีการเคลือบสารที่ป้องกันคราบสกปรกเกาะติด ก็จะช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงกับเชื้อโรคน้อยลงอีกด้วย
สุขภัณฑ์ Touchless & Ultraclean+
ไม่ต้องสัมผัส ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อโรค
Touchless Series
Ultraclean+
3. สายฉีดชำระ
มาถึงอุปกรณ์ในห้องน้ำอีกชิ้น นั่นก็คือ “สายฉีดชำระ” ที่เรามักปล่อยผ่าน ไม่ทำความสะอาด อาจเพราะเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก และดูไม่น่าจะสกปรกอะไร แต่จากการศึกษา* กลับพบว่า ที่จับสายฉีดชำระนั้นพบเชื้อโรคมากที่สุด! อย่างเช่นเชื้อ Escherichia coli ที่ไม่ดีต่อใจสักนิด เพราะทำใจเกิดการถ่ายอุจจาระที่มากกว่าปกติถึง 3 ครั้งขึ้นไป หนักกว่านั้นคือถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือด นอกจากนี้ บริเวณหัวฝักบัวของสายฉีดก็อาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ติดมาจากการขับถ่ายของผู้ใช้งานอีกด้วย ดังนั้น การทำความสะอาดสายฉีดชำระจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่นๆ ในห้องน้ำ โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้
วิธีทำความสะอาดสายฉีดชำระ
สายฉีดชำระควรทำเป็นประจำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนการกำจัดคราบตะกรัน ควรทำเดือนละ 1 ครั้ง แต่เราสามารถใช้งานสายฉีดชำระได้ปลอดภัยด้วยวิธีง่ายๆ คือฉีดน้ำจากสายชำระทิ้งก่อนใช้งานทุกรอบ เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่อาจติดอยู่ที่หัวฝักบัว หรือเพิ่มความสะดวกสบายและรักษาความสะอาดให้ดีที่สุด ด้วยการเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่มีระบบฉีดชำระอัตโนมัติ ที่มีระบบทำความสะอาดที่ฉีดในตัว ก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยอีกทางหนึ่ง
สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว “Optimum”
ควบคุมทุกฟังก์ชันผ่านรีโมทเพียงหนึ่งเดียว
ฝารองนั่งแบบใช้ไฟฟ้า “COVENIC”
ไม่ต้องเปลี่ยนสุขภัณฑ์ ก็เพิ่มฟังก์ชันสุดสมาร์ทได้
4. ก๊อกน้ำและอ่างล้างหน้า
เหนื่อยกันหรือยัง? ถ้ายัง...เรามาทำความสะอาดก๊อกน้ำและอ่างล้างหน้ากันต่อเลย! อุปกรณ์สองชิ้นนี้มีโอกาสเกิดคราบสกปรกฝังแน่นและเชื้อแบคทีเรีย จากสบู่ล้างมือ โฟมล้างหน้า หรือคราบฟองจากการแปรงฟัน ที่มีคราบไคลและเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่ นอกจากนี้ อ่างล้างหน้ายังมีโอกาสเกิดเชื้อราจากความชื้น โดยเฉพาะตามซอกโค้งที่ทำความสะอาดไม่ถึง ส่วนก๊อกน้ำนั้นมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคเช่นเดียวกับที่จับสายฉีดชำระ เพราะมือของเราต้องสัมผัสโดยตรง ลองมาดูวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นนี้กันดีกว่า
วิธีทำความสะอาดก๊อกน้ำและอ่างล้างหน้า
หมั่นทำความสะอาดก๊อกน้ำและอ่างล้างหน้าเป็นประจำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง รวมถึงขวดสบู่ล้างมือ โดยเฉพาะบริเวณแป้นกดด้วย เพราะเป็นจุดที่มือของเราสัมผัสอยู่บ่อยๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวเจือจางเช็ดทำความสะอาด หรือเลือกให้ก๊อกน้ำที่มีที่จ่ายสบู่ในตัว และควบคุมการใช้งานผ่านระบบเซนเซอร์ ก็ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาด และใช้ชีวิตที่ Health & Clean ได้มากกว่าเดิม
ก๊อกน้ำเซนเซอร์พร้อมที่จ่ายสบู่ในตัว “Aqua Soap”
สะอาดมากขึ้น มั่นใจได้มากกว่า
ก๊อกน้ำ “Touch Faucet”
ควบคุมการเปิดปิดได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
อย่าลืมสังเกตอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงพื้นและผนังห้องน้ำอยู่เสมอ หากเกิดคราบสกปรกที่มองเห็นชัด สามารถทำความสะอาดเฉพาะจุดได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงเวลาทำความสะอาดใหญ่ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค หรือเลือกใช้สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ก็จะช่วยให้คุณมั่นใจในความสะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีได้มากขึ้น สามารถค้นหาสินค้าและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cottolife.com
ทั้งนี้ หากพบวัสดุส่วนใดที่ชำรุดเสียหาย ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที โดยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำการซ่อม หรือนัดหมายให้ช่างเข้าไปตรวจสอบได้ ผ่านบริการ COTTO Fixing Service บริการพิเศษจาก COTTO ผ่านทางไลน์ @fixingservice รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.cotto.com/fixing-service
*ที่มา https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/292/เชื้อโรคในห้องสุขา