รับมืออย่างไรเมื่ออากาศที่เราหายใจกลายเป็น “พิษ”?

2022-07-01

รับมืออย่างไรเมื่ออากาศที่เราหายใจกลายเป็น “พิษ”? 

 

 

รู้ไหมว่า “มลพิษทางอากาศ” เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กระทบสุขภาพของประชาชนมากที่สุด อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้ประเมินว่า ในทุกปีจะมีประชากรโลกเสียชีวิตกว่า 7 ล้านคน จากโรคภัยที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศ และปัญหาดังกล่าวก็กำลังเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะต้องพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิล ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดมลพิษตามมาเป็นจำนวนมาก
 
สำหรับประเทศไทยเองก็เผชิญกับมลพิษทางอากาศเช่นเดียวกัน โดยเป็นเมืองที่มี PM 2.5 สูง อยู่อันดับที่ 45 จาก 117 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ติดอันดับที่ 11 มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เฉลี่ย 20.0 มคก./ลบ.ม. จัดอยู่ในคุณภาพอากาศระดับสีส้ม (15.1-25 มคก./ลบ.ม.) จากรายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2564 ของ IQAir ซึ่งแน่นอนว่าเราคงไม่อยากสูดมลพิษและฝุ่น PM 2.5 ลงปอดในทุกๆ วัน ไปตลอด ฉะนั้นเราจึงควรรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่จะมีต่อสุขภาพ และหาวิธีรับมือกัน

อากาศที่เป็นพิษส่งผลต่อเราอย่างไรบ้าง? 

 

 

มลพิษทางอากาศ คือภาวะอากาศที่มีการปนเปื้อนในปริมาณที่สูง และเป็นเวลานานพอ ที่ก่อให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ เช่น ปัจจัยจากธรรมชาติอย่าง ฝุ่นละอองจากลมพายุ ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติ แต่ปัจจัยที่ส่งกระผลกระทบที่รุนแรงต่อชั้นบรรยากาศ นั้นเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาขยะมูลฝอยต่างๆ เป็นต้น ส่วนเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศระดับโลกปีล่าสุด 2021 ได้มีการปรับค่า PM2.5 ที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ไม่ควรเกิน 5 มคก./ลบ.ม. จากแต่เดิมคือ 10 มคก./ลบ.ม.

สำหรับประเทศไทยสถานการณ์คุณภาพอากาศ ปี 2564 อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 21 มคก./ลบ.ม. (ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 9) ฝุ่นละออง PM10 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 40 มคก./ลบ.ม. (ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 7) 

สำหรับก๊าซโอโซน มีค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงสูงสุด เฉลี่ยทั้งประเทศ 84 มคก./ลบ.ม. (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 2) และมลพิษหลักที่ยังเป็นปัญหาในพื้นที่เดิม คือ ฝุ่นละออง PM2.5 (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ภาคเหนือ) แต่ถึงอย่างไรตัวเลขทั้งหมด ก็ยังถือว่าเกินมาตรฐานที่ WHO กำหนด 

อีกทั้งมลพิษทางอากาศยังถือว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ศึกษาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศของคนไทย ปี 2560-2563 พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วยด้วย 4 โรคหลักมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด

นอกจากนี้ WHO ยังได้ระบุถึงโทษของอากาศที่มีความเข้มข้นของอนุภาคอันตราย ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) รวมไปถึงสารพิษอย่างซัลเฟตและเขม่าดำจากการเผาไหม้ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะสามารถเจาะลึกเข้าไปสู่ปอดหรือระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งกับผู้ใหญ่และเด็ก ที่อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต การทำงานของปอด นำไปสู่การติดเชื้อทางเดินหายใจ และโรคหอบหืดได้

 

มลภาวะไม่ได้มีอยู่แค่ภายนอก แต่ในบ้านก็มีเช่นกัน แล้วเราจะรับมืออย่างไร?

 

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 0-25 คุณภาพอากาศดีมาก, 26 - 50   ดี,  51 - 100 ปานกลาง, 101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และ 201 ขึ้นไป มีผลต่อสุขภาพอย่างมาก ซึ่งสามารถลดทอนอันตรายที่อาจเกิดกับคุณได้ โดยการตรวจสอบระดับมลพิษผ่านสมาร์ทโฟนแอพ อย่างเช่น Asia Air Quality (Android), Global Air Quality (Android) และ Air Quality Index (iOS)
และหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก เมื่อดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกไปนอกบ้าน โดยควรเลือกแบบ N95 หรือ FFP1-FFP2 ที่ช่วยป้องกันได้ทั้ง Covid-19 และช่วยกรองฝุ่น PM2.5  และหากค่าฝุ่นอยู่ที่ระดับ 51 ขึ้นไป อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดการทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ได้มากที่สุด

 

 

นอกจากมลพิษทางอากาศภายนอก สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ มลพิษทางอากาศภายใน ที่เกิดขึ้นภายในอาคารที่พักอาศัย เช่น สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ จากเชื้อรา ฝุ่น เกสรดอกไม้ แมลงสาบและหนู, อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม ไปจนถึงสารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ตะกั่ว เป็นต้น ซึ่งมลพิษต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่างๆ อย่าง ดวงตา คอ และปอด โดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบ หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศได้ง่ายและมีอาการรุนแรงกว่า

แต่ทั้งนี้เราก็สามารถป้องกัน รับมือกับอากาศที่จะเป็นมลพิษในบ้านได้เหมือนกัน เช่น

 

 

• หากพักอาศัยบริเวณที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ควรปิดประตู หน้าต่าง ให้มิดชิด และเปิดพัดลม เพื่อให้อากาศหมุนเวียน
• กลั้วคอและล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อช่วยชะล้างสารก่อการระคายเคืองที่อยู่ในจมูกและลำคอ
• งดทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด PM2.5 เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ภายในอาคาร ลดการใช้เทียนหอมในบ้าน ลดการจุดธูป เผากระดาษ เผาใบไม้ เผาขยะ เป็นต้น
• ไม่จอดรถและติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานๆ ในบริเวณบ้าน
• เตาแก๊ส เตาอบ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ควรตั้งในจุดที่อากาศถ่ายเท

 

 

และอีกทางเลือกใหม่ สำหรับการฟอกอากาศภายในบ้านอย่างยั่งยืน นั่นก็คือ การติดตั้ง “กระเบื้องฟอกอากาศ AIR ION” นวัตกรรมเพื่ออากาศสะอาดในบ้าน จาก COTTO ที่ช่วยดักจับฝุ่นละอองอนุภาคต่างๆ ภายในบ้าน ช่วยฟอกอากาศให้เราได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ พร้อมช่วยลดฝุ่น PM2.5 ให้ทุกคนในบ้านได้สูดอากาศที่สะอาด และดีต่อสุขภาพ ซึ่งเจ้ากระเบื้องฟอกอากาศมีคุณสมบัติอะไรบ้างมาดูกัน

 

คุณสมบัติของกระเบื้องฟอกอากาศ AIR ION

 

 

  1. กระเบื้องฟอกอากาศ AIR ION สำหรับปูพื้นและผนังจาก COTTO มีการผสมแร่ธาตุธรรมชาติ Tourmaline บนผิวหน้ากระเบื้อง ซึ่งสามารถปล่อยประจุลบได้ในระดับ 3,000 ions/cm3 และเข้าทำปฏิกิริยาดักจับฝุ่นให้ตกลงพื้น
  2. สามารถดักจับฝุ่น PM2.5 ได้ถึง 89% ภายในระยะเวลา 30 นาที หลังติดตั้ง AIR ION อย่างน้อย 40% ของพื้นที่
  3. ปรับคุณภาพอากาศให้คงที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
  4. มั่นใจได้ว่าสามารถฟอกอากาศในบ้าน คืนอากาศบริสุทธิ์ให้คุณหายใจในอากาศที่สะอาดยิ่งขึ้นได้ เนื่องจากผ่านการรับรองมาตรฐานการวัดประสิทธิภาพการลดฝุ่น IAQ2016: Code of practice for indoor air quality for air-conditioned buildings (SS 554 : 2016) 
  5. มาพร้อมดีไซน์สวยงาม และมีให้เลือกหลากหลาย ตอบโจทย์ทุกสไตล์การแต่งบ้าน 

Recommended UItems:

ลดฝุ่นและมลภาวะในบ้าน ไปพร้อมกับตกแต่งบ้านให้สวยมีสไตล์ในแบบคุณ กับกระเบื้องฟอกอากาศ AIR ION ที่ COTTO ขอแนะนำทั้ง 4 ซีรีส์นี้ 

 

 

AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ RITA Series 

 

ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่  https://bit.ly/3QVdnjw 

 

AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ DONATO Series

 

ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่  https://bit.ly/3xZT3VJ 

 

AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ AMMY Series 

 

ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ https://bit.ly/3a1130L 

 

AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ  LAVAREDO Series 

 

ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่  https://bit.ly/3a1N7ni 

 

อ้างอิง:

https://www.who.int/health-topics/air-pollution#tab=tab_1
https://news.un.org/en/story/2022/04/1115492
https://datacenter.deqp.go.th/
https://www.greenpeace.org/thailand/press/19014/tracking-cost-air-pollution-th/