TILES
WORLD-CLASS DESIGNER
KITCHEN
ต่อเติมโรงรถ บ้านทาวน์เฮาส์ ต้องเริ่มอย่างไร?
บ้านทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮมในปัจจุบัน ถูกออกแบบมาตามแบบของแต่ละโครงการ หลายๆ ครั้งเจ้าของบ้านจำเป็นต้องปรับปรุงบางส่วนเพื่อให้สอดรับกับการใช้งาน ซึ่งหลายๆ บ้านก็ต้องการมีโรงรถ พื้นที่จอดรถเพื่อกันแดดกันฝน แต่ด้วยพื้นที่ที่จำกัด และข้อกฎหมาย อาจทำให้การต่อเติมโรงรถไม่ถูกต้องได้
วันนี้ COTTO จึงรวบรวมวิธีต่อเติมโรงจอดรถสำหรับบ้านทาวน์เฮาส์มาฝากกัน ลองมาดูกันว่า หากจะต่อเติมโรงรถให้ใช้งานได้ดีและถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร
คำนึงเรื่องแนวเขตที่ดินในการสร้างโรงจอดรถหน้าบ้าน
ถ้าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้าน และไม่อยากผิดกฎหมาย ต้องโดนปรับหรือต้องรื้อถอน ก่อนต่อเติมต้องคำนึงเรื่องระยะร่นระหว่างแนวเขตที่ดินเช่นกัน โดยกฎหมายได้กำหนดให้การต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคารและระยะร่นจากรั้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและบุคคลข้างเคียง ไว้ดังนี้
คำนวณพื้นที่โรงจอดรถ
บ้านทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮมอาจมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ฉะนั้นต้องคำนวณพื้นที่ทำโรงจอดรถ โดยขนาดพื้นที่ที่จอดรถมาตรฐานตามกฎหมายระบุสำหรับรถ 1 คัน ควรมีขนาด 2.40 x 5.00 ม. และควรเผื่อพื้นที่ด้านข้างไว้ข้างละ 0.70 ม. เพื่อมีพื้นที่ในการเปิดประตู ส่วนระยะความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานควรอยู่ที่ประมาณ 2.50 เมตร
วัสดุและดีไซน์ของหลังคาจอดรถที่เหมาะสม
วัสดุและการออกแบบสำหรับหลังคาโรงรถ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญและมีมีให้เลือก หลากหลายประเภท ซึ่งคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องคำนึงถึงจุดเด่นและประโยชน์ให้เหมาะกับการใช้งานจริงมากที่สุด
โดยมีวัสดุที่เป็นที่นิยม ดังนี้
โครงสร้างการออกแบบโรงจอดรถสำหรับบ้าน ทาวน์เฮาส์
พื้นโรงรถต้องพร้อมรับน้ำหนักและปลอดภัย
เมื่อรถยนต์ 1 คันมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม หรืออาจมากกว่านั้นหากรถยนต์มีขนาดใหญ่ขึ้น ฉะนั้นก่อนต่อเติมพื้นโรงจอดรถจะต้องสำรวจก่อนว่าพื้นโครงสร้างสามารถรองรับน้ำหนักได้มากน้อยขนาดไหน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้พื้นดินทรุดหรือแตกร้าว ซึ่งพื้นลานจอดรถบ้านจัดสรรอย่างทาวน์โฮมทั่วไปจะออกแบบโครงสร้างมาให้ผู้ใช้งานเรียบร้อยแล้วสำหรับการจอดรถคันเล็กๆ ประมาณ 1 คัน ส่วนพื้นโรงรถที่อยู่บนพื้นดินคนละส่วนกับตัวบ้าน โดยมากนิยมเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนคานหรือลงเสาเข็ม แล้วเลือกใช้วัสดุเช่นกระเบื้องปูทับ แต่ทั้งนี้หากมีการก่อสร้างต่อเติมเสริมโครงเหล็กหรือเสาเข็มเพิ่มโดยเฉพาะบ้านทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮมต้องคำนึงถึงข้อกฏหมายอาคารให้ดีๆ
เลือกกระเบื้องโรงจอดรถให้ตอบโจทย์การใช้งาน
โรงจอดรถเป็นอีกพื้นที่ภายนอกบ้านที่ไม่ควรมองข้าม เพราะไหนจะต้องรับน้ำหนักของรถ รับแดด รับฝน ฉะนั้นควรเลือกวัสดุที่แข็งแรง ซึ่งในปัจจุบันโครงการจัดสรรทั่วไปนิยมปูกระเบื้องเป็นพื้นโรงจอด ข้อดีของงานกระเบื้องคือ ทำความสะอาดง่าย ทันสมัย ลวดลายสวยงาม อายุการใช้งานทนทาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกชนิดของกระเบื้องที่พื้นผิวหยาบไปจนถึงหยาบมาก เพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดสี เมื่อเปียกน้ำก็ป้องกันการลื่นล้มได้ อีกทั้งกระเบื้องผิวหยาบยังช่วยลดรอยขีดข่วนและยังคงความสวยงามไว้ได้อย่างยาวนาน มากไปกว่านั้นคือไม่ลื่น โดยกระเบื้องกันลื่น เราสามารถดูได้ที่ค่า R หรือ Slip Resistance ควรเลือกที่มีค่า R11 ขึ้นไป โดยเป็นค่าที่ใช้วัดคุณสมบัติการกันความลื่นของพื้นผิววัสดุแต่ละประเภท ที่ได้จากการทดสอบ Ramp Test ที่พื้นในระดับความลาดชันต่างๆ โดยยิ่งตัวเลขมากจะยิ่งกันความลื่นได้มากนั่นเอง
และด้วยความห่วงใยในการใช้ชีวิตของทุกคน COTTO จึงพัฒนาเทคโนโลยีกระเบื้องคอตโต้ R11 Anti Slip Tile กระเบื้องกันลื่นที่มีผิวสัมผัสหยาบกว่ากระเบื้องทั่วไป พร้อมกับดีไซน์ลวดลายสวยงาม มาตอบโจทย์ทุกพื้นที่ และผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐานสากล จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่า R11 ซึ่งเหมาะกับการติดตั้งบนพื้นที่เปียก อย่างพื้นห้องน้ำ ลานซักล้าง พื้นที่จอดรถ และพื้นที่ภายนอกอาคารที่ต้องสัมผัสกับน้ำฝนอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังดูดซึมน้ำต่ำ ลดการสะสมคราบ ทำความสะอาดง่าย ทำให้ไม่เกิดคราบฝังติดหน้ากระเบื้อง เรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องคุณภาพดีที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานอย่างแน่นอน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียด กระเบื้อง R11 Anti Slip Tile เพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3wsYqwB
นอกจากนี้ COTTO ยังมีกระเบื้องสำหรับใช้ภายนอก R11 มาแนะนำ กับ “RAGTIME Series” ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่น เหมาะกับการทำพื้นโรงจอดรถ หรือพื้นที่ภายนอก เนื่องจากมีความหนาถึง 18 มิลลิเมตร ทำให้สามารถรับน้ำหนัก ทนทานกว่ากระเบื้องทั่วไป และตัวเนื้อกระเบื้องมีค่าดูดซึมน้ำต่ำ จึงทำให้แข็งแกร่ง หลุดล่อนได้ยาก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3AGKPUW
สุดท้ายทั้งนี้ทั้งนั้นการต่อเติมโรงรถที่ดีต้องปลอดภัยทั้งกับโครงสร้างบ้านเดิมและผู้ใช้งาน ผู้มีแผนต่อเติมโรงจอดรถควรปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ เพื่อดีไซน์โครงสร้างให้เหมาะสม และเลือกใช้วัสดุที่ได้มีมาตรฐานปลอดภัย ที่สำคัญอย่าลืมเชคข้อกฎหมายอาคารก่อนต่อเติมบ้านให้ดีด้วยนะ
อ้างอิงเพิ่มเติม
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER018/GENERAL/DATA0000/00000251.PDF
https://asa.or.th/laws-and-regulations/cba/